ดินอุ่นขึ้น มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
![]() |
![]() |
![]() |
Written by Administrator |
Friday, 18 January 2019 08:37 |
นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการชีวภาพทางทะเลในรัฐแมสซาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเลวร้ายขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือการที่พืชจะจับก๊าซคาร์บอนจำนวนมหาศาลแล้วสูบมันลงไปในดิน ซึ่งปกติแล้วก๊าซคาร์บอนจะอยู่ได้นานเป็นเวลาหลายร้อยหรือหลายพันปี แต่จากการสังเกตการณ์ทั่วโลกที่ชี้ให้เห็นว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในดินจะเริ่มทำงานได้ดีขึ้น ปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ที่มีต่อใบไม้และพืชที่ตายก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า วงจรของปัญหาแห่งภาวะโลกร้อน การเผาไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ทำให้อากาศและดินร้อนขึ้น ซึ่งพบว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ก๊าซคาร์บอนเหล่านี้ออกมาจากจุลินทรีย์เมื่อเทียบกับแหล่งที่มาอื่น ๆ ของก๊าซคาร์บอน พวกเขาได้วิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดดินและการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงการสังเกตการณ์จากดาวเทียม สรุปว่าโดยรวมแล้วดินจะปลดปล่อยคาร์บอนมากกว่ามนุษย์กระทำถึง 9 เท่า ในขณะที่โลกประสบกับภาวะโลกร้อน ดินก็จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยังคงเหลืออยู่ออกมา หากไม่มีการควบคุมวงจรดังกล่าว ก็จะเพิ่มความเร็วและขยายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ย่ำแย่ มีข้อเสนอแนะจากนักวิทยาศาสตร์บางคนถึงหนทางแก้ปัญหาว่า ให้ใช้เทคนิคการอนุรักษ์ดิน เช่น หลีกเลี่ยงการไถ ปลูกพืชนอกฤดูกาลคลุมดิน และปล่อยเศษพืชไว้บนพื้นดินก็จะสามารถช่วยเก็บกักปริมาณก๊าซคาร์บอนไว้ในดินได้มากขึ้น ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/1354291 |