![]() |
Fissurina egena
ข้อมูลนี้ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว
รูปภาพ | ||||||||||
|
ข้อมูลชื่อ view: 1358 |
|||||||||
ชื่อทั่วไป Name |
Fissurina egena | ||||||||
ชื่อท้องถิ่น Local Name |
|||||||||
ชื่อสามัญ Common Name |
|||||||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Fissurina egena (Nyl.) Nyl. | ||||||||
Taxonomy | |||||||||
Kingdom | Fungi | ||||||||
Division | Ascomycota | ||||||||
Class | Lecanoromycetes | ||||||||
Order | Ostropales | ||||||||
Family | Graphidaceae | ||||||||
Genus | Fissurina | ||||||||
Specific epithet | egena | ||||||||
คำบรรยาย | |||||||||
ลักษณะทั่วไป | แทลลัส แบบครัสโตส สีเขียวมะกอกถึงสีเขียวอมเทา ผิวเรียบเป็นเงามัน ไม่แตกร้าว ขอบโคโลนีไม่ชัดเจน ชั้นคอร์เท็กซ์ สีใส หนา 30.0–45.0 ไมโครเมตร ชั้นสาหร่าย มีสาหร่ายสีเขียวสกุล Trentepholia เป็นส่วนประกอบ หนา 10.0–15.0 ไมโครเมตร ชั้นเมดัลลา สีขาว เส้นใยประสานตัวกัน หนา 35.0–50.0 ไมโครเมตร แอสโคมาตา แบบแอโพทีเซียรูปเส้นคู่คล้ายริมฝีปาก สีขาว แตกสาขา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ฝังตัวจมลงในแทลลัส ขอบปากมีสีขาว ปิดถึงเปิดเล็กน้อย หน้าจานสีขาว กว้าง 0.2-0.3 ยาว 0.5-1.0 มิลลิเมตร เอกซิเปิล ไม่เป็นริ้ว สีนํ้าตาลอ่อน ชั้นสาหร่ายขึ้นปกคลุมถึงด้านบนของเอกซิเปิล พบผลึกขนาดเล็กแทรกด้านข้างเอกซิเปิล ชั้นเอพิทีเซียม ใสจนถึงสีเทา หนา 5.0–10.0 ไมโครเมตร ชั้นไฮมีเนียม ปลายเส้นใยพาราไฟซิส แตกแขนงเล็กน้อย ไม่พบกลุ่มนํ้ามันและไม่ให้สีเมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน ชั้นไฮโพทีเซียม ไม่มีสี แอสคัส รูปกระบอง แอสโคสปอร์ ไม่พบ | ||||||||
รูปแบบการเจริญเติบโต | |||||||||
ครัสโตส | |||||||||
ส่วนเจริญพันธุ์ | |||||||||
รูปเส้น | |||||||||
สภาพที่อยู่อาศัย: | บนเปลือกไม้ ในป่าดิบแล้ง (dry evergreen forest) เป็นที่โล่ง แสงส่องถึงพื้นล่าง ความชื้นปานกลาง | ||||||||
การใช้ประโยชน์: | |||||||||
สำรวจเจอที่: | | ||||||||
บันทึกเพิ่มเติม: | การทดสอบสี: ผิวบนแทลลัส: K-, C-, KC- ; เมดัลลา: K-, C-, KC-, PD- ; UV- ข้อสังเกต: ไลเคนชนิดนี้มีลักษณะเด่น คือ แอสโคมาตาแบบแอโพทีเซียรูปเส้นคู่คล้ายริมฝีปาก สีขาว แตกสาขา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไลเคนชนิดนี้มีการแพร่กระจายในเขต ร้อน เช่น เวียดนาม คอสตาริกา ออสเตรเลีย |
||||||||
รูปภาพ | |||||||||
อัพโหลดข้อมูลภาพ |
|||||||||